Wednesday, 26 June 2019

เห็ดหลินจือ (Lingzhi หรือ Reishi)

เห็ดหลินจือ (Lingzhi หรือ Reishi)

เห็ดหลินจือ (Lingzhi หรือ Reishi) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า กาโนเดอร์มา ลูซิดัม (Ganoderma Lucidum) เป็นเห็ดที่มีขนาดใหญ่ มีสีเข้ม มีพื้นผิวมันวาว มีลักษณะคล้ายไม้ และมีรสขม มีประวัติศาสตร์ยาวนานในการใช้เห็ดหลินจือเพื่อรักษาหรือบำรุงสุขภาพในประเทศแถบเอเชีย โดยเฉพาะประเทศจีนและญี่ปุ่น เนื่องจากเชื่อว่าสารประกอบภายในเห็ดมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย

เห็ดหลินจือ

ในเห็ดหลินจือมีสารอาหารที่อาจส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย จำพวกเส้นใยต่าง ๆ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามินและแร่ธาตุบางชนิด เช่น แคลเซียม โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม เซเลเนียม ธาตุเหล็ก สังกะสี ทองแดง สารโมเลกุลชีวภาพที่สำคัญ อย่างสเตียรอยด์ (Steroids) เทอร์ปีนอยด์ (Terpenoids) ฟีนอล (Phenols) นิวคลีโอไทด์ (Nucleotides) ไกลโคโปรตีน (Glycoproteins) พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysaccharides) และสารอนุพันธ์อื่น ๆ โดยเฉพาะกรดอะมิโนไลซีน (Lysine) และลิวซีน (Leucine)

ด้วยเหตุนี้ มีบางคนหรือในบางวัฒนธรรมนำเห็ดหลินจือมาประกอบอาหารและแปรรูปเพื่อการบริโภคอย่างหลากหลาย นักวิทยาศาสตร์จึงให้ความสนใจและนำเห็ดหลินจือมาทดลองหาประสิทธิผลทางการรักษาและการบำรุงสุขภาพ เพื่อพิสูจน์ว่าเห็ดชนิดนี้มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายของคนเราจริงหรือไม่

เห็ดหลินจือมีประโยชน์ต่อสุขภาพที่อาจเป็นไปได้จริงหรือ ?

แม้มีการค้นคว้าทดลองมากมายเกี่ยวกับคุณสมบัติและคุณประโยชน์ที่อาจเป็นไปได้ของเห็ดหลินจือ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานหรือข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ที่แน่ชัดถึงคุณลักษณะและประสิทธิผลในด้านใด ๆ ดังนั้น ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลของเห็ดหลินจือ ปริมาณและวิธีการบริโภคที่เหมาะสม รวมทั้งข้อจำกัดต่าง ๆ และปัจจัยทางสุขภาพของตนให้ดีก่อนการบริโภค

ตัวอย่างงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับเห็ดหลินจือที่อาจมีผลต่อสุขภาพ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

งานค้นคว้าหนึ่งได้ทดลองหาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการบริโภคอาหารเสริมเห็ดหลินจือในผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จำนวน 32 ราย ผลลัพธ์คือ เห็ดหลินจืออาจมีสรรพคุณในด้านการระงับอาการปวด ปลอดภัยต่อการรับประทานเข้าสู่ร่างกายและไม่มีผลข้างเคียง อย่างไรก็ตาม กลับไม่ปรากฏผลที่มีนัยสำคัญในการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชัน การต้านการอักเสบ หรือผลการปรับระบบภูมิคุ้มกันแต่อย่างใด

เพิ่มสมรรถภาพร่างกาย

มีการทดลองที่ทดสอบประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในด้านการเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย โดยได้ทดลองในผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบรไมอัลเจีย (Fibromyalgia) เพศหญิงจำนวน 64 ราย ตลอดระยะเวลาการทดลอง 6 สัปดาห์ ผู้ป่วยบริโภคเห็ดหลินจือปริมาณ 6 กรัม/วัน จากนั้นจึงทดสอบสมรรถภาพร่างกายของผู้ป่วย ผลการทดลองคือ เห็ดหลินจืออาจสัมพันธ์กับความทนทานของร่างกายในขณะออกกำลังกายและความยืดหยุ่นของร่างกายในผู้ป่วยโรคปวดกล้ามเนื้อไฟโบรไมอัลเจีย ซึ่งอาจเป็นผลดีในการค้นคว้าทดลองและวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ต่อไป แต่ยังคงขาดหลักฐานสนับสนุนที่ชัดเจน จึงควรมีการศึกษาค้นคว้าในด้านนี้ เพื่อหาหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดถึงประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อไป

ต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และป้องกันการทำลายเซลล์ตับ

จากการทดลองหาประสิทธิภาพของสารไตรเทอร์พีนอยด์ (Triterpenoids) และโพลีแซ็กคาไรด์ (Polysaccharide) ในเห็ดหลินจือในด้านการต้านการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และการป้องกันการทำลายเซลล์ตับในกลุ่มผู้ทดลองที่มีสุขภาพดี 42 คน ผลลัพธ์ที่ได้แสดงถึงประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในการช่วยต้านอนุมูลอิสระ และยับยั้งการเกิดอนุมูลอิสระ ลดการอักเสบของตับ

อย่างไรก็ตาม แม้เห็ดหลินจืออาจช่วยต้านปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ แต่การทดลองดังกล่าวเป็นเพียงการค้นคว้าวิจัยขนาดเล็ก ควรศึกษาค้นคว้าต่อไปเพื่อหาหลักฐานและข้อพิสูจน์ที่แน่ชัดถึงประสิทธิผลของเห็ดหลินจือ

รักษามะเร็ง

อีกหนึ่งงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิผลของสารโพลีแซ็กคาไรด์ในเห็ดหลินจือในผู้ป่วยมะเร็งปอด จากการวิเคราะห์พบว่า สารดังกล่าวมีส่วนในการยับยั้งการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาว

จากการค้นคว้าวิจัยมากมายถึงประสิทธิผลทางการรักษาโรคมะเร็งของเห็ดหลินจือ พบว่าเห็ดหลินจืออาจส่งผลต่อการต้านการอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งปอดบางราย แต่ยังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือการทดลองทางการแพทย์ที่ให้ข้อมูลเพียงพอที่สนับสนุนให้ใช้เห็ดหลินจือในการรักษามะเร็งอย่างเป็นทางการ

เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบจากการรวบรวมงานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิผลของเห็ดหลินจือเพื่อรักษาโรคมะเร็งในมนุษย์ 373 คน แม้จะพบว่าผู้ป่วยตอบสนองต่อการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัดได้ดีขึ้นเมื่อรักษาร่วมกับการใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือ แต่เมื่อทดลองใช้เห็ดหลินจือเพียงอย่างเดียวกลับไม่มีประสิทธิผลในการทำให้มะเร็งลดขนาดลงแต่อย่างใด

นอกจากนี้ จากการทบทวนงานวิจัยพบว่ามีงานวิจัย 4 ชิ้นที่มีผลลัพธ์สนับสนุนว่าเห็ดหลินจืออาจสัมพันธ์ต่อการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น และในขณะเดียวกัน ก็มีผลลัพธ์จากงานวิจัยหนึ่งที่แสดงถึงผลข้างเคียงของเห็ดหลินจือ เป็นอาการคลื่นไส้และนอนไม่หลับด้วย

ดังนั้น จึงอาจกล่าวได้ว่า ข้อพิสูจน์ทางคุณสมบัติและคุณประโยชน์ของเห็ดหลินจือยังคงมีจำกัด บางงานวิจัยเป็นการทดลองขนาดเล็ก หลักฐานที่ได้ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ หรือเป็นเพียงการทดลองในผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อโรคมะเร็ง จึงยังคงเป็นหัวข้อการค้นคว้าที่ควรดำเนินการทดลองต่อไป เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์ในวงกว้างต่อการรักษาผู้ป่วยมะเร็งได้ในอนาคต

ภาวะต่อมลูกหมากโต และการเจ็บป่วยในระบบทางเดินปัสสาวะ

มีกระบวนการทดลองหนึ่งที่ใช้สารสกัดจากเห็ดหลินจือทดลองในผู้ป่วยเพศชาย 88 รายซึ่งมีอายุเกินกว่า 49 ปีขึ้นไป ที่มีอาการปัสสาวะติดขัด หลังการทดลองกว่า 12 สัปดาห์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผู้ป่วยต่างมีระดับคะแนน IPSS ที่ดีขึ้น (The International Prostate Symptom Score) ซึ่งเป็นค่าคะแนนสากลในการวัดปัญหาในระบบทางเดินปัสสาวะของผู้ป่วยจากการตอบคำถาม แต่กลับไม่ปรากฏผลในเชิงการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิต การขับถ่ายปัสสาวะ หรือขนาดของต่อมลูกหมากแต่อย่างใด

ดังนั้น การทดลองดังกล่าวจึงยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนเพียงพอ จึงควรมีการค้นคว้าทดลองในด้านนี้ต่อไปในอนาคต เพื่อค้นหาหลักฐานที่แน่ชัดในการสรุปเกี่ยวกับประสิทธิผลของเห็ดหลินจือต่อการรักษาภาวะต่อมลูกหมากโตหรือปัญหาสุขภาพใด ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ลดปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจ

จากการวิเคราะห์ผลการทดลองทางการแพทย์ 5 รายการ ซึ่งมีผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เข้าร่วมทดลองกว่า 398 ราย พบว่า เห็ดหลินจือไม่ได้มีผลทางการรักษาในเชิงการลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับความดันโลหิต หรือระดับไขมันคอเลสเตอรอลลงแต่อย่างใด มีเพียงผลลัพธ์ที่ไม่ชัดเจนและไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพเพียงพอจะสนับสนุนผลทางการรักษาเหล่านั้น และไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการยืนยันด้านความปลอดภัยจากการบริโภคเห็ดหลินจือเช่นเดียวกัน โดยหนึ่งในงานวิจัยเหล่านั้น ได้แสดงถึงผลข้างเคียงจากการบริโภคเห็ดหลินจือในผู้ป่วยบางราย เป็นอาการคลื่นไส้ ท้องร่วง หรือท้องผูก

ดังนั้น จึงควรมีการค้นคว้าทดลองถึงประสิทธิภาพของเห็ดหลินจือในการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เหล่านี้ เพื่อป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจต่อไป รวมทั้งให้ได้ความกระจ่างชัดเจนในด้านดังกล่าวมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อแนวทางในการรักษาป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปในอนาคต

ปริมาณที่เหมาะสมในการบริโภคเห็ดหลินจือ

ในขณะนี้ยังคงไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพียงพอที่จะระบุปริมาณการบริโภคเห็ดหลินจืออย่างชัดเจน เนื่องจากประสิทธิผลและผลข้างเคียงจากการบริโภคอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยที่แตกต่างของผู้บริโภคด้วย เช่น อายุ สุขภาพ รูปแบบของการบริโภค และจุดประสงค์ของการบริโภค ดังนั้น ผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดหลินจือ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการบริโภค เพราะแม้เห็ดหลินจือในแต่ละรูปแบบจะเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ แต่สารเคมีและส่วนประกอบต่าง ๆ อาจส่งผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน

โดยทั่วไป ปริมาณการบริโภคเห็ดหลินจือ/วัน ได้แก่

  • เห็ดหลินจืออบแห้ง ไม่ควรบริโภคเกิน 1.5-9 กรัม/วัน
  • ผงสกัดเห็ดหลินจือ ไม่ควรบริโภคเกิน 1-1.5 กรัม/วัน
  • สารละลายเห็ดหลินจือ ไม่ควรบริโภคเกิน 1 มิลลิลิตร/วัน

ความปลอดภัยในการบริโภคเห็ดหลินจือ

แม้จะมีการพิสูจน์ถึงคุณประโยชน์ในบางด้านที่อาจเกิดขึ้นได้จากการบริโภคเห็ดหลินจือ แต่ผู้บริโภคก็ควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดหลินจือ และปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการบริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรระมัดระวังในด้านปริมาณและรูปแบบเห็ดหลินจือที่บริโภค เพราะอาจเกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ในภายหลัง

โดยข้อควรระวังในการบริโภคเห็ดหลินจือ ได้แก่

ผู้บริโภคทั่วไป:

  • ควรบริโภคเห็ดหลินจือในปริมาณที่พอดี
  • การบริโภคสารสกัดจากเห็ดหลินจือติดต่อกันนานเกินกว่า 1 ปี อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้
  • การบริโภคเห็ดหลินจือในรูปแบบผงติดต่อกันนานเกินกว่า 1 เดือน อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ เนื่องจากอาจเกิดภาวะพิษที่เป็นอันตรายต่อตับ
  • การบริโภคเห็ดหลินจืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปากแห้ง คอแห้ง คันจมูก เลือดกำเดาไหล ท้องไส้ปั่นป่วน ถ่ายเป็นเลือด
  • การดื่มไวน์เห็ดหลินจืออาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงเป็นอาการผดผื่นคัน
  • การสูดหายใจเอาเซลล์สืบพันธุ์หรือสปอร์ (Spores) ของเห็ดหลินจือเข้าไป อาจทำให้เกิดอาการแพ้

ผู้ที่มีควรระมัดระวังในการบริโภคเป็นพิเศษ:

ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร แม้ยังไม่มีการพิสูจน์ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ในกลุ่มผู้บริโภคนี้ แต่ผู้ที่ตั้งครรภ์และผู้ที่กำลังให้นมบุตรควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเห็ดหลินจือ เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของตนและลูกน้อย

ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด การบริโภคเห็ดหลินจือในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีเลือดออกในผู้ป่วยบางรายที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยง ผู้ป่วยควรหยุดบริโภคเห็ดหลินจือ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนวันผ่าตัด

ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ

  • ความดันโลหิตต่ำ เห็ดหลินจืออาจส่งผลให้ความดันโลหิตต่ำลง ดังนั้น ผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตต่ำจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเห็ดหลินจือ
  • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ การบริโภคเห็ดหลินจือในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีเลือดออกในผู้ที่มีเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้น ผู้ป่วยภาวะเกล็ดเลือดต่ำจึงไม่ควรบริโภคเห็ดหลินจือ
  • ภาวะมีเลือดออกผิดปกติ การบริโภคเห็ดหลินจือในปริมาณมาก อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะมีเลือดออกในผู้ป่วยบางราย โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะเลือกออกผิดปกติอยู่แล้ว

Cr  ::    เว็บไซต์  pobpad.com


กาโน เอ็กเซล คือ เจ้าแรกของโลก



The Many 1st of Gano Excel



1. กาโน เอ็กเซล เป็นบริษัทที่เพาะเลี้ยงและแปรรูป เห็ดหลินจือสายพันธ์ุสีแดง (กาโนเดอมา) ที่ได้รับการรับรองมาตราฐาน GMP จากกระทรวงสาธารณสุข ประเทศมาเลเซีย, กระทรวงสารณสุข และองค์การอาหารและยา ประเทศไทย, ประเทศ สปป. ลาว, ประเทศพม่า และประเทศกัมพูชา

2. กาโน เอ็กเซล เป็น ธุรกิจเครือข่าย Network Marketing แบรนด์แรกของเอเซีย ที่สามารถเข้าสู่ตลาด  สหรัฐอเมริกา

3. กาโน เอ็กเซล เป็นเจ้าแรกของโลก ที่สามารถค้นพบกรรมวิธีในการสกัดเห็ดหลินจือ ให้ละลายน้ำได้ 100% ในรูปแบบผลิตภัณฑ์ยา และอาหารเสริม (Reishi Gold)

4. กาโน เอ็กเซล เป็นเจ้าแรกของโลก ที่สกัดเห็ดหลินจือ ให้สามารถละลายน้ำได้ 100% ในกาแฟ

5. กาโน เอ็กเซล ผลิตเครื่องดื่มกาแฟสำเร็จรูป ผสมเห็ดหลินจือ  3-in-1 เป็นเจ้าแรกของโลก

6. กาโน เอ็กเซล ผลิตเครื่องดื่มซีเรียลผสมเห็ดหลินจือ เป็นเจ้าแรกของโลก

7. กาโน เอ็กเซล ผลิตเครื่องดื่มช็อคโกแลตผสมเห็ดหลินจือ เป็นเจ้าแรกของโลก

8. กาโน เอ็กเซล ผลิต ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากและฟัน (ยาสีฟัน) ที่มีส่วนผสมของเห็ดหลินจือ เป็นเจ้าแรกของโลก

9. กาโน เอ็กเซล ผลิตสบู่ ที่มีส่วนผสมของเห็ดหลินจือ เป็นเจ้าแรกของโลก

10. กาโน เอ็กเซล ผลิตเวชสำอางค์ ที่มีส่วนผสมของเห็ดหลินจือ เป็นเจ้าแรกของโลก
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร Supplements เห็ดหลินจือ บริษัทกาโนเอ็กเซล ประเทศไทย
 



สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  🙏🙏🙏 🙏🙏


โทร ☎️  ::  082-236-4928   🌸🌸🌸




Line ID  ::   pla-prapasara



http://line.me/ti/p/~pla-prapasara



🌸รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line นะคะ!!! 🌸



No comments:

Post a Comment

กรณีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้กับการรักษาด้วยวิธีการของกาโน

กรณีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ กับการรักษาด้วยวิธีการของกาโน กรณีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ ด.ญ.วริศรา สังข์จันทึก (1) YouTube Video https://youtu.be/Tj...